โดย By Tiamkare Thitithamtada
เว็ไซด์สหภาพกาชาดสากลและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ((International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies – IFRC) ได้รายงานสถานการณ์ว่า นับป็นเวลา 3 เดือนแล้ว ที่เหตุการณ์เขื่อนเซเปียน เซน้ำน้อยแตกและทำลายหมู่บ้านกว่า 13 แห่ง ที่แขวงอัตตะปือ หลายชุมชนรวมทั้งชาวบ้าน บ้านใหม่ ได้ย้ายเข้ามายังบ้านพักชั่วคราวที่รัฐบาลสร้างให้ หลังจากต้องอยู่ในเต็นท์พักพิงชั่วคราวหลายสัปดาห์ บ้านพักชั่วตราวมีการแบ่งมีความเป็นสัดส่วน มีห้องน้ำ ห้องอาบน้ำแยกชายหญิง และมีไฟฟ้าใช้ อย่างไรก็ตาม ชีวิตในบ้านหลังใหม่ก็ยังห่างใกลกับบ้านหลังเดิมที่ชาวบ้านเคยอยู่ก่อนถูกน้ำท่วม
“เรารู้สึกสูญเสียอิสรภาพ หมดหนทางและไร้ความหวัง” ท้าวคำใบ กันปานทะวง ผู้ใหญ่บ้านใหม่ เอ่ยขณะที่เขานั่งอยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราวเมืองสนามไซย “เราไม่มีงานทำและสูญเสียแหล่งทำมาหากินเพราะน้ำท่วมพื้นที่ทำกินของเราจนหมด”
มีชาวบ้านใหม่กว่า 600 คน ที่รอดชีวิตในครั้งนี้ และมีผู้เสียชีวิต 8 คนในคืนที่เขื่อนแตก
เมื่อเดือนกรกฎาคม องค์กรกาชาดสากล (IFRC)
ได้จัดตั้งงบความช่วยเหลือฉุกเฉินกว่า 2.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสนับสนุนองค์กรกาชาดลาวในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยกว่า 7500 คนจากน้ำท่วม บางส่วนของเงินช่วยเหลือคือการให้เป็นเงินช่วยเหลือทุกครอบครัวเพื่อใช้ซื้อสิ่งของที่จำเป็น สร้างบ้านและการเริ่มทำการเกษตรใหม่
“หมุ่บ้านของเรายังต้องการเครื่องครัวทำอาหาร เราจะได้ไม่ต้องรอรับอาหารที่แจก อยากได้ตู้เย็นสำหรับการแช่อาหาร และการคมนาคมให้ลูกไปโรงเรียนหรือให้เราไปหางานทำได้ เงินก้อนจะทำให้เราซื้อสิ่งของที่จำเป็นที่เราต้องการได้” ท้าวคำใบกล่าว
ถัดไปสองสามหลัง นางแม อายุ 35 และนางได โจวงสัก กำลังนั่งอยู่นอกบ้านพูดคุยกับเพื่อนบ้านและดูเด็กๆที่กำลังเล่นอยู่ใกล้ๆ ด้วยความที่คาดว่าอาจจะต้องอยู่ในบ้านพักชั่วคราวนี้ไปอีกหลายปี หญิงทั้งสองหวังว่าพวกเขาจะได้มีบ้านใหม่ที่สะดวกสบายกว่านี้ “ฉันอยากได้แผ่นป้ายมาบังแดด เพราะว่ามันร้อนมากจริง” นางแม กล่าว เธอทั้งสองพูดเสียงเดียวกันว่า เงินก้อน เป็นสิ่งจำเป็นมากที่จะทำให้เธอซื้อข้าวครองที่จำเป็นเช่น หม้อ กระทะ สำหรับการทำอาาหารและอาหารอื่นๆ
ที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านดงเมือง ห่างออกจากเมืองสะหนามไซย ประมาณ 10 กฺิโลเมตร นางนุย ซายะลิน อายะ 49 ปี เดินทางไปลูก 4 คนและเพื่อนบ้าน เดินทางมายังศูนย์อพยพชั่วคราวเพื่อรับอุปกรณ์ทำความสะอาดและมุ้งที่แจกโดยองค์กรกาชาดสากล เขาพวกต้องอยู่ในศูนย์อพยพฉุกเฉินกว่า 17 วัน ก่อนที่จะกลับไปยังหมู่บ้าน เพื่อดูว่ายังเหลืออะไรบ้าง เช่นเดียวกับคนอื่นๆ นางนุยกลับมาบ้านที่พังและรถไถที่หายไป
บ้านดนเมือง เป็นหมู่บ้านที่ปลูกข้าวมากที่สุดในเมืองอัตตะปือ พื้นที่เกษตรกรรมและเครื่องจักรต่างๆถูกทำลายเพราะน้ำท่วม ชาวบ้านมีทางเลือกน้อยมากที่รับจ้างเพื่อมีรายได้ที่ศูนย์พักพิงชั่วคราว
“ชาวบ้านเราต้องการข้าว เครื่องใช้ในครัวเรือนและอุปกรณ์ทำการเกษตร” นางนุย กล่าว “เราเชื่อว่าเงินก้อนจะช่วยให้เราสมารถฟื้นคืนกลับมามีชีวิตเหมือนเดิมได้”
ที่มา https://bit.ly/2PUNosG