Silencing the Mekong เขื่อนไซยะบุรี นับถอยหลังถึงวันเดินเครื่อง


กิจกรรม: อภิปรายและเปิดตัวรายงาน
วันที่: 22 ตุลาคม 2562
เวลา: 18.00-20.00 น.
สถานที่: สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) ห้องเพนต์เฮาส์ 518/5 อาคารมณียาเซ็นเตอร์ ถนนเพลินจิต (BTS สถานีชิดลม) แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร


ในวันที่ 29 ตุลาคม 2562 เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี ที่กั้นแม่น้ำโขงในลาว จะเริ่มเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าอย่างเป็นทางการ ถือเป็นเขื่อนแรกที่สร้างบนแม่น้ำโขงสายประธานตอนล่าง และเป็นจุดเปลี่ยนสำหรับแม่น้ำโขง


นับแต่เริ่มต้น เขื่อนไซยะบุรีเป็นโครงการที่อื้อฉาว เนื่องจากมีข้อกังวลอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับแม่น้ำโขงและระบบนิเวศ ทั้งผลกระทบข้ามพรมแดนต่อประเทศเพื่อนบ้าน ผลกระทบสำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น รวมถึงการทำลายพันธุ์สัตว์น้ำอพยพในแม่น้ำโขง และการดักจับตะกอน ทำให้ตะกอนไม่ไหลลงไปด้านท้ายน้ำ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของเขื่อนยังคุกคามต่ออาหาร อาชีพ และระบบทางสังคม-วัฒนธรรมของประชาชนที่อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำ


ระหว่างการปรึกษาหารือของโครงการเขื่อนไซยะบุรี ชาวบ้าน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมากแสดงข้อกังวลเกี่ยวกับโครงการนี้ และตั้งคำถามเนื่องจากมีข้อมูลและการศึกษาที่ไม่เพียงพอ รัฐบาลเวียดนามเรียกร้องให้ชะลอโครงการ และให้มีข้อตกลงเพื่อระงับการสร้างเขื่อนในแม่น้ำสายประธานทุกเขื่อนเป็นเวลา 10 ปี เพื่อรอให้มีการศึกษาเพิ่มเติม ให้เราเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับระบบแม่น้ำและผลกระทบจากโครงการเขื่อน ในประเทศไทย ชุมชนของตัวแทนริมฝั่งแม่น้ำโขง ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ขอให้มีการเปิดเผยสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในโครงการนี้ โดยเป็นการฟ้องคดีเมื่อปี 2555 ภายหลังมีการอุทธรณ์คดีหลายครั้ง แม้เจ็ดปีผ่านไป คดีก็ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด


แม้เขื่อนไซยะบุรีจะเดินหน้าต่อไป โดยผู้พัฒนาโครงการได้ปรับปรุงการออกแบบเพื่อลดข้อกังวล แต่มีการเสนอโครงการเขื่อนอื่น ๆ เพิ่มเติม ในเดือนนี้ คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงประกาศเริ่มกระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้าโครงการเขื่อนหลวงพระบาง ซึ่งจะเป็นเขื่อนแห่งที่ห้าในแม่น้ำโขงสายประธานตอนล่างที่เข้าสู่กระบวนการนี้
การจัดกิจกรรมครั้งนี้ประกอบด้วยการอภิปรายของนักวิชาการ ตัวแทนชุมชนและภาคประชาสังคม เป็นการให้ความเห็นเกี่ยวกับความเป็นมาของโครงการ กระบวนการตัดสินใจที่มีข้อบกพร่อง และการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งผลกระทบของเขื่อนไซยะบุรีต่อระบบนิเวศและประชาชนในลุ่มน้ำโขง


ในกิจกรรมครั้งยังเป็นการเปิดตัวรายงานใหม่ของ International Rivers ซึ่งจัดทำขึ้นตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญอิสระสองท่าน ซึ่งให้ความเห็นในระหว่างการทบทวนการออกแบบโครงการเขื่อนไซยะบุรีของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง และมีการเผยแพร่ข้อมูลเมื่อต้นปีนี้ ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นซึ่งเป็นการตรวจสอบผลกระทบจากเขื่อนไซยะบุรี ซึ่งได้กลายเป็นตัวชี้วัดการตัดสินใจเกี่ยวกับเขื่อนในแม่น้ำโขงสายประธาน และเน้นให้เห็นความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมีแนวทางร่วมในระดับภูมิภาคอย่างแท้จริง เพื่อปกป้องอนาคตของแม่น้ำโขง

วิทยากรที่ยืนยันจะเข้าร่วมรายการนี้ประกอบด้วย
[1] Dr Carl Middleton, Center for Social Development Studies
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
[2] อ้อมบุญ ทิพย์สุนา เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง
[3] สฤณี อาชวานันทกุล บริษัทป่าสาละ
[4] Professor Le Anh Tuan สถาบันวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ Can Tho University
[5] Maureen Harris International Rivers

More to explorer

สำรวจพื้นที่ 2 โครงการยักษ์เขื่อนกั้นแม่น้ำโขง พบการก่อสร้างเขื่อนหลวงพระบางคืบหน้าไปมาก-กั้นลำน้ำโขงแล้วเกือบครึ่ง-อพยพชาวบ้านแล้วบางส่วน ชาวบ้านน้ำตาตกวัด-พระพุทธรูปเก่าต้องอยู่ใต้น้ำ ขณะที่เขื่อนปากแบงยังไม่ได้ลงมือก่อสร้างใดๆ นักอนุรักษ์-นักกฎหมายจี้ตอบคำถามผลกระทบข้ามแดน