นักวิชาการด้านพลังงานเวียดนามชี้ เขื่อนหลวงพระบางไม่มีผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ สังคมหรือสิ่งแวดล้อมต่อเวียดนามและประเทศอื่นๆในลุ่มน้ำโขง

หวิน ดัง อา ธิ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม แคนาดา ได้เขียนบทความวิเคราะห์ทางเศรษฐ์ศาสตร์ กรณีเขื่อนหลวงพระบาง เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2563 ว่า ในเว็บไซต์ https://nguoidothi.net.vn/ ระบุว่า นับจากเดือนตุลาคม 2562 สปป.ลาวได้เสนอต่อคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง เพื่อให้มีการจัดกระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้าหรือ PNPCA ตามข้อตกลงแม่น้ำโขง ปี 2538 โครงการเขื่อนหลวงพระบาง จุดก่อสร้างโครงการห่างจากตัวเมืองหลวงพระบาง 25 กิโลเมตรและห่างจากปากแม่น้ำโขงเวียดนาม ประมาณ 2,036 กิโลเมตร มีกำลังการผลิต 1460 เมกะวัตต์ มีบริษัทหลวงพระบางเอเนอยี่จำกัด โดยบริษัท PretoVietnam(PVPower) ถือหุ้น 38 % , บริษัท PT Co.Ltd(Laos) ถือหุ้น 37 % และรัฐบาลลาว ถือหุ้น 25 % และได้รับสิทธิ์พัฒนาโครงการมาตั้งแต่ปี 2007

หวิน ระบุว่า ได้ทำการประมาณการต้นทุนและราคาขายไฟฟ้า ซึ่งมีผลต่อความอยู่รอดขอโครงการเขื่อนหลวงพระบางหากผู้ซื้อเป็นประเทศไทยและเวียดนาม รายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการหลวงพระบางที่ได้ส่งต่อคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2562 ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับเงินลงทุนและไม่มีการวิคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินของโครงการดังกล่าว ซึ่งหากลองเปรียบเทียบกับโครงการเขื่อนไซยะบุรีกับการประเมินการลงทุนและราคาไฟฟ้าระหว่างสองโครงการนี้ที่จะการออกแบบและใช้เทคโนโลยีแบบเดียวกันที่ออกแบบโดยบริษัท Poyry เช่นเดียวกัน พบว่า หากเขื่อนหลวงพระบางจะขายไฟฟ้าให้กับเวียดนาม ต้องสร้างสายส่งไกลมากเป็นสองเท่าของประเทศไทย และค่าใช้จ่ายติดตั้งสายส่งก็สูงกว่าถึง 312 ล้านเหรียญสหรัฐ การสูญเสียไฟฟ้าระหว่างขนส่งก็สูงกว่าสองเท่า คิดเป็น 6 %(ส่งมาไทย คิดเป็น 3 %) นั่นเท่ากับว่า ปริมาณไฟฟ้าเชิงพานิชย์ก็จะลดลงตามไปด้วย

นอกจากนี้ กำลังการผลิตไฟฟ้าของเขื่อนไซยะบุรีคิดเป็น 88 % ของเขื่อนหลวงพระบาง แต่ศักยภาพการผลิตของเขื่อนหลวงบางที่ติดตั้งจะสูงกว่าไซยะบุรี 15 % อย่างไรก็ตาม โครงการเขื่อนหลวงพระบางมีการนำเทคโนโลยีที่น้อยกว่าเขื่อนไซยะบุรี นั่นหมายถึงว่า การแข่งขันทางราคาและประสิทธิภาพทางการเงินไม่เทียบเท่ากับเขื่อนไซยะบุรี

จากข้อมูลของ นายโฮ กง คี ประธานกรรมการบริษัท PV Power ในหนังสือพิมพ์การลงทุนเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2562 ระบุว่า มีการศึกษาตลาดไฟฟ้าของโครงการ 2 ทางคือ ขายไฟฟ้าให้กับประเทศไทย จะมีการลงทุน 3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐหรัฐและขายไฟฟ้าให้กับเวียดนามจะต้องลงทุน 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อพิจารณาตุ้นทุนการก่อสร้างเขื่อนที่ต้องใช้เวลาถึง 7 ปีนั้น ต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (กรณีขายไฟฟ้าให้กับประเทศไทย) และ 5.0 พันล้านเหรียญสหรัฐ(กรณีขายไฟฟ้าให้กับเวียดนาม)


เมื่อเปรียบเทียบราคาค่าไฟฟ้าระหว่างเขื่อนไซยะบุรีกับเขื่อนหลวงพระบางที่ประเทศไทยต้องรับซื้อจะมีราคาระหว่าง 7.5-8.6 เซนต์/กิโลวัตต์ และราคาซื้อของเวียดนามคือ 8.6-9.6 เซนต์/กิโลวัตต์

อะไรคือประโยชน์พิเศษของการขายไฟฟ้าให้กับประเทศไทย?


ขนะนี้ ประเทศไทยซื้อไฟฟ้าเขื่อนไซยะบุรีในราคา 6.6 เซนต์/กิโลวัตต์ ตามสัญญาสัมปทาน 29 ปี จากการคาดการณ์ราคาค่าไฟฟ้าของเขื่อนหลวงพระบาง ไทยจะต้องรับซื้อไฟฟ้าสูงกว่าเขื่อนไซยะบุรีเพิ่มขึ้นอีก 14-30 % และข้อเท็จจริงประการหนึ่งคือ โครงการเขื่อนไซยะบุรีถือเป็นหนึ่งในโครงการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เพราะบริษัทลูกของกฟผ.ถือหุ้น 12.5% และมีธนาคารไทย 6 แห่งเป็นแหล่งเงินกู้แก่โครงการ

นอกจากนั้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยยังมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจากลาวจากการที่มีบริษัทลูกที่ไปลงทุนถือหุ้นในโครงการเขื่อนต่าง ๆ อาทิ เขื่อนน้ำเทิน 1(ถือหุ้น 25%),น้ำงึม 2(ถือหุ้น 35%), น้ำเงี้ยบ 1(30%) และเขื่อนเซเปียนเซน้ำน้อย(25%) ดังนั้นไม่มีเหตุผลที่จะต้องซื้อไฟฟ้าจากโครงการนี้สูงกว่าปกติ 14-30 % เพราะมันไม่ใช่โครงการของบริษัทลูกของกฟผ.เข้าไปลงทุนร่วมหรือไม่?

แผนพัฒนาพลังงานปี 2018-2072 ของไทยที่ออกมาเมื่อเดือนมกราคม ปี 2562 ระบุว่า จะมีการลดการนำเข้าไฟฟ้าจากลาว 50 % เหลือเพียง 5,857 เมกะวัตต์ในปี 2593 ปัจจัยสำคัญอีกอย่างคือ ราคาของพลังงานก๊าซธรรมชาติและพลังงานทางเลือกที่ลดลงอย่างรวดเร็วกว่าการคาดการณ์ ขณะที่การก่อสร้างเขื่อนแม่น้ำโขงแต่ละแห่งก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 7 ปี ซึ่งเห็นได้ชัดว่า โครงการเขื่อนไฟฟ้าแม่น้ำโขงต้องแข่งขันอย่างหนักอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และเป็นปัจจัยสำคัญที่รัฐบาลไทยต้องตัดสินใจเลือกให้ดี

อะไรคือกลไกพิเศษสำหรับ PV power?


ราคาของไฟฟ้าจากเขื่อนหลวงพระบางให้เวียดนามอยู่ที่ 8.6-9.6 เซนต์/กิโลวัตต์ ขณะที่รูปแบบราคาไฟฟ้าจากเขื่อนไฟฟ้าที่กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้ากำหนดไว้เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมาคือ ตรึงราคารับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนต่างๆไว้ไม่เกิน 4.8 เซนต์/ต่อกิโลวัตต์ ดังนั้นจะเห็นว่าราคาของเขื่อนหลวงพระบางนั้นคาดว่าจะสูงกว่าราคาที่รัฐกำหนดไว้ 1.8-2 เท่า สอดคล้องกับที่ประธานของบริษัท PV Power ระบุว่า “โครงการดี”ที่จะขายไฟฟ้าให้กับเวียดนามในราคา 9.38 เซนต์/กิโลวัตต์ มูลค่าตอบแทนการลงทุนของโครงการอยู่ที่ 9%


“อย่างไรก็ตาม PV Power ต้องสร้างกลไกเฉพาะกิจเพื่อเสนอต่อสำนักนายกรัฐมนตรี และอาจจะต้องทำกระบวนการปรึกษากับสภาแห่งชาติของเวียดนาม ในมุนมองของ PV power โครงการนี้ไม่มีประสิทธิภพและไม่ควรลงทุน นายเคน กล่าว


แม้ว่าบริษัท PV power จะสามารถโน้มน้าวให้รัฐบาลเวียดนามและสภาแห่งชาติรับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนหลวงพระบางได้ แต่โครงการนี้ต้องใช้เงินภาษีของคนเวียดนามในการให้รัฐบาลลาวและบริษัทมากถึง 62 %

เมื่อพิจารณาบริบบทของตลาดไฟฟ้าและราคาค่าไฟฟ้าในลุ่มน้ำโขงนี้และที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของโคงการแล้ว ถ้าไทยและเวียดนามไม่รับซื้อไฟฟ้าจากโครงการนี้ โครงการก็ไม่มีทางได้เกิดแน่นอน และเมื่อไม่มีข้อผูกมัดจากการซื้อไฟฟ้าทั้งกฟผ.และ การไฟฟ้าเวียดนาม ธนาคารต่างๆก็จะไม่มีความเสี่ยงในการให้เงินลงทุนที่สูงถึง 70% ของการลงทุนทั้งหมด ถ้าการไฟฟ้าของเวียดนามซื้อไฟฟ้าจากโครงการนี้ในราคาสูงมากก็จะขัดกฎของกระทรวงอุตสาหกรรมของเวียดนาม. เมื่อมูลค่าการลงทุนขั้นต่ำของโครงการนี้อยู่ที่ 5 พันล้านเหรียฐสหรัฐ เมื่อบริษัท PV power ถือหุ้นอยู่ที่ 38 % บริษัทจะต้องเสียเงินค่าใช้จ่ายมากถึง 5.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้น บริษัท PV Power จะยอมเสียเงินมหาศาล โดยที่ไม่มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่แน่นอน” เช่นนั้นหรือ?

ที่มา https://nguoidothi.net.vn/thuy-dien-luang-prabang-22993.html

More to explorer

สำรวจพื้นที่ 2 โครงการยักษ์เขื่อนกั้นแม่น้ำโขง พบการก่อสร้างเขื่อนหลวงพระบางคืบหน้าไปมาก-กั้นลำน้ำโขงแล้วเกือบครึ่ง-อพยพชาวบ้านแล้วบางส่วน ชาวบ้านน้ำตาตกวัด-พระพุทธรูปเก่าต้องอยู่ใต้น้ำ ขณะที่เขื่อนปากแบงยังไม่ได้ลงมือก่อสร้างใดๆ นักอนุรักษ์-นักกฎหมายจี้ตอบคำถามผลกระทบข้ามแดน