ฟุ้งเขื่อนดอนสะโฮงสร้างคืบหน้าเกินกว่าแผน

เว็บไซต์ theedemarkets.com ของมาเลเซีย รายงานเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2560 ว่า ขณะนี้เขื่อนดอนสะโฮงคืบหน้า 28-29 %แล้ว และคาดว่าจะคืบหน้า 45-50 %  ภายในสิ้นปีนี้ เว็บไซต์เข้าใจว่าขณะนี้การก่อสร้างโครการเร็วกว่ากำหนดถึง 3 เดือน ถึงแม้ว่าฤดูฝนจะเริ่มขึ้นในเดือนนี้และบางกิจกรรมในพื้นที่ก่อสร้าง เช่น ทางระบายน้ำเข้าและการขุดเจาะใต้น้ำจะช้าลงตัวลงและจะหยุดลงจนกว่าฤดูฝนจะหมดไปในเดือนตุลาคม อย่างไรก็ตามยังมีการก่อสร้างบริเวณโรงไฟฟ้าและการขุดเจาะต่อ เมื่อเร็วๆนี้ สายส่งไฟฟ้าได้เริ่มสร้างแล้ว  มูลค่าการลงทุนกว่า 214 ล้านริงกิตมาเลเซีย ซึ่งมีเพียงพอในการก่อสร้างไปจนถึงไตรมาสแรกหรือวันที่ 31 มีนาคม 2018

รายงานของเว็บไซต์ระบุว่ามูลค่าการก่อสร้างโครงการทั้งหมดประมาณ 417 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการระดมทุนภายใน 142.6 ล้านเหรียญสหรัฐ  มาจาก supplier credit 53 ล้านเหรียญสหรัฐ และการได้รับสิทธิจากการได้ใบอนุญาต 38.4 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 33 ล้านเหรียญสหรัฐ และการกู้ยืมจากธนาคารภายนอก 150 ล้านเหรียญสหรัฐ บริษัทกำลังดำเนินการจัดหาเงินกู้จากธนาคารอีก 150 ล้านเหรียญสหรัฐ

นอกจากนี้ทางบริษัทเมกะเฟริสก์ ยังมีการทำลงทุนด้านการเกษตรในจังหวัดมนดกคีรี กัมพูชา พื้นที่ประมาณ 9,477 เฮกตาร์ (พื้นทีเพาะปลูก 6,000 เฮกตาร์) การจัดการมีมูลค่าประมาณ 1-2 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปีจากมะพร้าว โดยมีแปลงเพาะพันธุ์มะพร้าวคุณภาพสูงจากเวียดนามและมาเลเซีย โดยมีแผนการผลิตและแปรรูปอาหารที่เกี่ยวข้องกับมะพร้าว เช่น น้ำมะพร้าว น้ำมันมะพร้าว และกะทิ  

อนึ่งโครงการเขื่อนดอนสะโฮง  (กำลังผลิตติดตั้ง 260 เมกกะวัตต์) เป็นเขื่อนแห่งที่ 2 ที่สร้างกั้นแม่น้ำโขงตอนล่าง (แห่งแรกคือเขื่อนไซยะบุรี) เขื่อนตั้งอยู่บริเวณ ฮูสะโฮง สีพันดอน เขตเมืองโขง แขวงจำปาสัก สปป.ลาว ห่างจากชายแดนกัมพูชาเพียง 1 กิโลเมตร โดยเริ่มการก่อสร้างอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมกราคม 2559 ซึ่งที่ผ่านมามีข้อกังวลจากองค์กรอนุรักษ์และประชาชนในเรื่องผลกระทบต่อเส้นทางอพยพของปลาจากลุ่มน้ำโขงตอนล่างและทะเลสาบเขมร ผลกระทบข้ามพรมแดน และความคุ้มค่าของโครงการเขื่อนที่ผลิตไฟฟ้าได้ในปริมาณน้อย เขื่อนดอนสะโฮงดำเนินการก่อสร้างโดยบริษัท Sinohydro จากจีน

More to explorer

สำรวจพื้นที่ 2 โครงการยักษ์เขื่อนกั้นแม่น้ำโขง พบการก่อสร้างเขื่อนหลวงพระบางคืบหน้าไปมาก-กั้นลำน้ำโขงแล้วเกือบครึ่ง-อพยพชาวบ้านแล้วบางส่วน ชาวบ้านน้ำตาตกวัด-พระพุทธรูปเก่าต้องอยู่ใต้น้ำ ขณะที่เขื่อนปากแบงยังไม่ได้ลงมือก่อสร้างใดๆ นักอนุรักษ์-นักกฎหมายจี้ตอบคำถามผลกระทบข้ามแดน