แถลงการณ์เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขงอีสาน ข้อเสนอต่อสถานการณ์การผลักดันโครงการก่อสร้างเขื่อนสานะคาม บนแม่น้ำโขง

    ท่ามกลางกระแสการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 ทั่วทุกมุมโลก รัฐบาลแต่ละประเทศ รวมทั้งหน่วยงาน องค์กร และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่างร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างขันแข็งด้วยความหวังที่จะรอดพันจากหายนะภัยที่มีต่อมวลมนุษยชาติในครั้งนี้ แต่ในขณะเดียวกันรัฐบาลลาวภายใต้ความร่วมมือกับบริษัทรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานจากประเทศจีน กลับฉวยโอกาสในสภาวะวิกฤติครั้งนี้ เร่งรัดผลักดันโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงโครงการล่าสุดคือ เขื่อนสานะคาม

    สืบเนื่องจากวันที่ 11 เดือนพฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission: MRC) เปิดเผยต่อสาธารณะว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จะริเริ่มดำเนินการกระบวนการปรึกษาหารือเบื้องต้น (Prior Consultation) สำหรับโครงการไฟฟ้าพลังน้ำสานะคาม กระบวนการนี้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติ เรื่อง การแจ้ง การปรึกษาหารือล่วงหน้า และข้อตกลง ของ คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ในกรณีที่รัฐสมาชิก ประกอบด้วย ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม จะมีการดำเนินการโครงการที่ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขง ทั้งนี้ โครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำสานะคาม มีบริษัท ต้าถัง (ลาว) สานะคาม ไฮโดรพาเวอร์ จำกัด เป็นผู้พัฒนาโครงการฯ บริษัทดังกล่าวนี้เป็นบริษัทลูกของ บริษัท ต้าถัง  ซึ่งเป็นบริษัทรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานของ สาธารณะรัฐประชาชนจีน

    ตามเอกสารของโครงการเขื่อนไฟฟ้าลังน้ำสานะคาม ที่เสนอต่อคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ได้มีการระบุว่า เขื่อนมีลักษณะเป็นเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำแบบน้ำไหลผ่าน ขนาด 684 เมกะวัตต์ พื้นที่ก่อสร้างเขื่อนอยู่ระหว่างแขวงไซยะบุรีและนครหลวงเวียงจันทร์ เมืองสานะคาม โดยอยู่ห่างจาก อ.เชียงคาน จ.เลย เพียงแค่ 2 กิโลเมตร และตั้งอยู่ห่างจากนครหลวงเวียงจันทร์ประมาณ 155 กิโลเมตร ประเทศลาวมีความคาดหวังว่า จะสามารถเริ่มก่อสร้างโครงการนี้ได้ในปี 2563 และจะแล้วเสร็จในปี 2571 ต้นทุนของการก่อสร้างโครงการมีมูลค่าประมาณ 6.6 หมื่นล้านบาท ไฟฟ้าที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะถูกส่งมาขายให้กับประเทศไทย

การเดินหน้าผลักดันโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขง ได้เกิดขึ้นมาอย่าต่อเนื่องในรอบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา โดยมีการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงในเขตประเทศจีนไปแล้วกว่า 11 แห่ง และประเทศลาวมีเป้าหมายการก่อสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงจำนวน 7 แห่ง โดยแล้วเสร็จไปแล้ว 1 เขื่อน คือ เขื่อนไซยะบุรี อีกทั้งยังมีเขื่อนบนแม่น้ำโขงอีก 2 แห่ง ที่อยู่ในแผนการก่อสร้าง มีที่ตั้งอยู่บนแม่น้ำโขงพรมแดนไทย-ลาว คือ เขื่อนปากชม อ.ปากชม จ.เลย และเขื่อนบ้านกุ่ม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี เขื่อนดังกล่าวเหล่านี้อยู่ในแผนการพัฒนาเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้าที่เรียงรายเป็นขั้นบันไดตลอดตามลำแม่น้ำโขง 

    พวกเรา เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขงอีสาน ในฐานะองค์กรภาคประชาสังคมและเครือข่ายภาคประชาชน ที่เฝ้าติดตามสถานการณ์การพัฒนาในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง โดยเฉพาะการผลักดันและการก่อสร้างเขื่อนต่าง ๆ บนแม่น้ำโขงที่ส่งผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนต่อชุมชนลุ่มน้ำโขงในเขตภาคอีสานในช่วงระยะเวลามากกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ได้มีมุมมองและข้อสังเกตต่อ สถานการณ์การสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขง ดังต่อไปนี้

    ในช่วยระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาเขื่อนแม่น้ำโขงในเขตประเทศจีน รวมทั้งเขื่อนไซยะบุรี ในเขตประเทศลาวที่มีการเดินหน้ากักเก็บน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2562 ที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมในแม่น้ำโขงให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง ได้แก่ การผันผวนของระดับน้ำที่ไม่เป็นไปตามฤดูกาล เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการพังทลายของตลิ่งริมฝั่งแม่น้ำโขงกับพื้นที่เกษตรริมแม่น้ำโขง การลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพโดยเฉพาะพันธุ์ปลาและสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในแม่น้ำโขง ปัญหาการดักตะกอนดินของเขื่อนตอนบนนำมาซึ่งผลกระทบในด้านธาตุอาหารของระบบนิเวศแม่น้ำล่างและเกิดการเปลี่ยนสีของแม่น้ำอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน สิ่งเหล่านี้เป็นผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนที่สะสมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน

    ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบทางสังคม ที่เกี่ยวโยงกับฐานความมั่นคงทางอาหารของชุมชนแม่น้ำโขงตอนล่าง ทั้ง 4 ประเทศ ชาวประมงพื้นบ้านต้องสูญเสียอาชีพกับรายได้ และคนในหลายชุมชนต้องสูญเสียพื้นที่ทางการเกษตรริมฝั่งแม่น้ำโขง ตลอดจนผลกระทบที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ กับพื้นที่สำคัญทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ตลอดตามลำน้ำโขงได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน ทำให้คนในชุมชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องต้องสูญเสียรายได้จำนวนมหาศาล  

    ฉะนั้น การผลักดันโครงการเขื่อนสานะคาม จึงเป็นการตอกย้ำปัญหาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมในแม่น้ำโขงที่มีต่อชุมชนลุ่มน้ำโขงให้มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างทบทวี

จากสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวข้างต้น พวกเรา มีข้อเสนอ ต่อรัฐบาลไทยและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องว่า รัฐไทยควรมีการแสดงจุดยืนที่ชัดเจนต่อสถานการณ์ปัญหาและผลกระทบทางด้านระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมในแม่น้ำโขง ซึ่งเกิดขึ้นมาจากเขื่อนต่าง ๆ ในแม่น้ำโขง และรัฐบาลไทยควรมีการทบทวนจุดยืนในการซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงโดยเฉพาะเขื่อนสานะคาม ที่จะนำมาซึ่งหายนะภัยต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศของแม่น้ำโขง ที่สำคัญต้องมีการเปิดเผยข้อมูลและข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหา ผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนาลุ่มน้ำโขงสู่สาธารณะ โดยเปิดพื้นที่ให้กับภาคประชาสังคมและภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการนำเสนอปัญหาและเสนอทางเลือกด้านการพัฒนา และแนวทางการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น

ด้วยจิตคาราวะ

เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขงอีสาน 51 องค์กร

29 พฤษภาคม 2563

หน่วยงาน/องค์กร/เครือข่าย/บุคคล

1. สมาคมส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม

2. ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

3. กลุ่มฮักแม่น้ำเลย

4. กลุ่มฮักเชียงคาน

5. กลุ่มอนุรักษ์แม่น้ำโขง อ.ปากชม จ.เลย

6. กลุ่มลุ่มน้ำโขงศึกษา

7. เครือข่ายอนุรักษ์ภูหินเหล็กไฟ

8. สมาคมเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาเทือกเขาเพชรบูรณ์

9. สภาผู้นำลุ่มน้ำพุงและป่าสักตอนบน

10. เครือข่ายองค์กรชุมชนเทือกเขาเพชรบูรณ์

11. สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและสาธารณะ

12. สภาผู้ผลิตและบริโภค จังหวัดเลย

13. เครือข่ายอนุรักษ์ป่าหัวไร่ปลายนา จังหวัดหนองบัวลำภู

14. เครือข่ายชาติพันธุ์เทือกเขาเพชรบูรณ์

15. สภาองค์กรชุมชนตำบลวังสะพุง

16. เครือข่ายลุ่มน้ำชีตอนล่าง จังหวัดร้อยเอ็ด

17. เครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีตอนล่าง จังหวัดยโสธร

18. เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำ ภาคอีสาน

19. กลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบาย ตำบลเชียงเพ็ง

20. เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภาคอีสาน

21. สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนราศีไศล

22. สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนหัวนา

23. โครงการทามมูน

24. ศูนย์พิทักษ์สิทธิการจัดการทรัพยากรชุมชนลุ่มน้ำชีตอนล่าง

25. คณะกรรมการประชาชนคัดค้านโรงน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล (คปน.) ภาคอีสาน

26. ชุมชนคนฮักน้ำของ จังหวัดอุบลราชธานี 

27. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน

28. เครือข่ายชุมชนและภาคประชาสังคมติดตามสถานการณ์ธุรกิจและสิทธิมนุษยชน

29. ขบวนการอีสานใหม่

30. มูลนิธิเพื่อการบริหารการจัดการน้ำแบบบูรณาการ(ประเทศไทย)

31. กลุ่มเผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน)

32. กลุ่มฮักบ้านเกิด เมืองเพีย จังหวัดขอนแก่น

33. มูลนิธิพิทักษ์ธรรมชาติเพื่อชีวิต จังหวัดอุบลราชธานี

34. สภาองค์กรชุมชน ต.โนนสะอาด อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น 

35. กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมห้วยเสือเต้นและโคกหินขาว

36. เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง

37. สมาคมเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มโขง จังหวัด ภาคอีสาน (คสข.)

38. สถาบันชุมชนลุ่มน้ำโขง

39. สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต

40. สมัชชานักศึกษาอีสาน

41. กลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง

42. กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อ.หนองหาน จ.อุดรธานี

43. ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ อีสาน

44. ศูนย์สื่อชุมชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม

45. กลุ่มผู้ผลิตสื่อสารคดีเพื่อเสรีภาพแม่น้ำโขง

46. กลุ่มรักษ์เชียงของ

47. มูลนิธิเลยเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาอย่างยั่งยืน

48. มูลนิธิพัฒนาอีสาน จ.สุรินทร์

49. ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม Legal Center for Human Rights

50. ตลาดสีเขียวขอนแก่น Khon Kaen Green Market

51.กลุ่มเพื่อนคนไร้บ้าน

——————————————————–

นายแพทย์นิรันดร์  พิทักษ์วัชระ อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (2552-2558)

นายสันติภาพ  ศิริวัฒน์ไพบูลย์

ดร.เลิศชาย ศิริชัย

ศาสตราจารย์สุริชัย หวันแก้ว

ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ

ผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา (ไผ่ ดาวดิน)

นายณรงค์ฤทธิ์  อุปจันทร์

นายนิวัตน์ ร้อยแก้ว

นางสาวมณีรัตน์  มิตรปราสาท

นายปิยศักดิ์ สุคันธพงษ์ เลขานุการ เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและพลังงานจังหวัดสุรินทร์

นายวุฒิรักษ์ แพงตาแก้ว

นายพุฒิพงศ์ มหาอุตร

นายการัณ ดิษเจริญ

นายพิทักษ์ สอนจะโปะ

นางสาว ส. รัตน์มณี พลกล้า ทนายความ

นายนิรุตณ์ บัวพา คณะกรรมการบริหารเลขา-สมาคมป่าชุมชนอีสาน 

นายเดชา เปรมฤดีเลิศ

นายณัฐวุฒิ กรมภักดี

นางสาวศิวิมล วงศาอ้วน

นายฐากูร สรวงศ์สิริ

นายสมพงศ์ อาษากิจ

ผู้ประสานงาน: นายสุวิทย์  กุหลาบวงษ์ สมาคมส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม

เบอร์โทร 0981055324

More to explorer