แถลงการณ์เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำยวม เงา เมยและ สาละวิน

วันที่ 14 มีนาคม 2564

ณ. แม่น้ำยวม บ้านสบเงา ตำบลแม่สวด อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

เนื่องด้วยวันนี้ วันที่ 14 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันปฏิบัติการเพื่อแม่น้ำสากล พวกเราในนามชุมชนที่จะได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนน้ำยวมเพื่อผันน้ำลงสู่เขื่อนภูมิพล ขอแสดงถึงข้อกังวลและปัญหาต่าง ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อพวกเราดังนี้

1. เรื่องน้ำท่วมที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน พื้นที่ที่พวกเราอาศัยและที่ทำกิน ส่วนใหญ่อยู่ใกล้แม่น้ำเงา และแม่น้ำยวม ซึ่งรวมไปถึงลำห้วยสาขาของทั้งสองแม่น้ำด้วย ที่ผ่านมาพวกเราแสดงข้อกังวลนี้มาโดยตลอด ทุกเวที แต่ไม่เคยได้รับคำตอบที่ชัดเจนว่าจะมีมาตรการป้องกัน เยียวยาอย่างไร ได้เพียงตอบพวกเราว่ามีมาตรการแล้วและจะบริหารจัดการน้ำไม่ให้กระทบกับชุมชน

2. น้ำอุปโภค-บริโภคของชุมชนใช้ระบบประปาภูเขา ดังนั้นหากดูจากโครงการก่อสร้างนี้แล้วย่อมกระทบถึงต้นน้ำอันเป็นแหล่งอุปโภค-บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และไม่เคยมีการชี้แจงให้ชุมชนแต่อย่างใด

3. หากเกิดความเสียหายต่อที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะชุมชนที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์และคนที่ยังไม่มีสัญชาติไทย ก็ไม่เคยได้รับคำตอบที่ชัดเจนว่าจะช่วยเหลือเยียวยากรณีนี้อย่างไร

4. เรื่องจุดกองวัสดุหลังจากมีการขุดเจาะอุงโมงค์ ชุมชนยังไม่ทราบแน่ชัดว่ากองดินเหล่านั้นจะใช้พื้นที่กว้างแค่ไหน สูงแค่ไหน และโดยเฉพาะในฤดูฝนจะมีมาตรการในการป้องกันการชะล้างของกองดินเหล่านี้อย่างไร หากเกิดการสไลด์ของดิน และจุดกองดินเหล่านั้นหากกองในพื้นที่ป่า ก็จะทำให้ชุมชนสูญเสียพื้นที่ป่าไปอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ และหากจุดกองดินไปทับกับที่ทำกินชาวบ้านซึ่งไม่มีเอกสารสิทธิ์ก็ไม่มีการยืนยันว่าจะมีการชดเชยค่าเสียหายอย่างไร

5. เรื่องการก่อสร้างเขื่อน ไม่มีการพูดถึงเส้นทางที่จะเข้าไปยังจุดสร้างเขื่อนว่าใช้เส้นทางไหน ระหว่างการขนส่งจะก่อให้เกิดผลกระทบอะไรบ้าง และชุมชนระหว่างทางเหล่านั้นส่วนใหญ่ก็ไม่เคยรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการและไม่ได้เข้าร่วมเวทีประชุม

6. เรื่องการทำแบบประเมินที่ผ่านมามีผู้นำที่เห็นด้วยกับโครงการเป็นผู้ดำเนินการแทนโดยวิธีการที่ใช้คือให้คนประเมินเก็บบัตรประจำตัวประชาชนของสมาชิกชุมชน แล้วเอาไปกรอกเอง และคำตอบในในแบบสำรวจก็ปรากฏว่าเจ้าของบัตรเห็นชอบกับโครงการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเพราะไม่มีการอธิบายให้ชาวบ้านฟังว่าเนื้อหาในแบบสอบถามแต่ละคำถามนั้นถามว่าอย่างไร อีกทั้งยังไม่รู้ว่าข้อมูลที่กรอกลงในแบบสอบถามนั้นตรงตามเจตนารมณ์หรือไม่

7. เรื่องจำนวนชุมชนที่ปรากฏในรายงานโครงการนั้นก็มีแต่ชุมชนหลัก ๆ ที่ปรากฏบนแผนที่ แต่ในบริเวณรอบ ๆ โครงการยังมีอีกหลายชุมชนที่ไม่ปรากฏในรายงาน เพราะชุมชนเหล่านั้นเป็นหย่อมบ้านของบ้านหลักที่ปรากฏในรายงาน

8. เรื่องการใช้ภาษาในที่ประชุม รายชื่อชุมชนที่ปรากฏในรายงานของกรมชล 36 ชุมชน ล้วนแล้วแต่ใช้ภาษาท้องถิ่น คือภาษากะเหรี่ยง ซึ่งมีทั้งกะเหรี่ยงโปว์และกะเหรี่ยงสกอร์ แต่ในการดำเนินการประชุมผู้จัดประชุมใช้ภาษาไทยเป็นภาษาหลัก ผู้นำชุมชนที่ถูกเชิญเข้าร่วมประชุมอาจสื่อสารภาษาไทยได้ แต่ก็ไม่มีความเข้าใจเนื้อหาเพียงพอที่จะนำมาถ่ายทอดแก่สมาชิกชุมชนต่อได้  และในเวทีปัจฉิมนิเทศโครงการ ผู้เข้าร่วมก็ได้สะท้อนในที่ประชุมแล้วว่าสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องนำเสนอในเวทีนั้นผู้เข้าร่วมไม่เข้าใจ อีกทั้งยังไม่ปรากฏว่ามีการเขียนประเด็นนี้ลงในสรุปรายงาน ทั้ง ๆ ที่เป็นประเด็นสำคัญ

ดังนั้นพวกเราจึงเรียกร้องไปยังรัฐบาลให้ยุติโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล จังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดตากโดยทันที

ลงชื่อ…………………………………………..

เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำยวม เงา เมยและ สาละวิน

รายชื่อหมู่บ้านร่วมคัดค้านโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพลจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดตาก

1. หมู่บ้านแม่เจ ตำบลเสาหิน อำเภอแม่สะเรียง

2. หมู่บ้านแม่เหลอ ตำบลเสาหิน อำเภอแม่สะเรียง

3. หมู่บ้านโพซอ ตำบลเสาหิน อำเภอแม่สะเรียง

4. หมู่บ้านแม่ทะลุ ตำบลสบเมย อำเภอแม่สบเมย

5. หมู่บ้านปางทอง ตำบลแม่วะหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

6. หมู่บ้านอูหลู่ ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

7. หมู่บ้านโกแปร ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

8. หมู่บ้านสบเงา ตำบลแม่สวด อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

9. หมู่บ้านแม่สามแลบ ตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

10. หมู่บ้านท่าเรือ ตำบลสบเมย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

11. หมู่บ้านแม่ดึ๊ ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

12. หมู่บ้านแม่เลาะ ตำบลแม่สวด อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

13. หมู่บ้านท่าตาฝั่ง ตำบลแม่ยวม อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

14. หมู่บ้านซิวาเดอ ตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

15. หมู่บ้านแม่คะ ตำบลแม่สวด อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

16. หมู่บ้านแม่วะหลวง ตำบลแม่วะหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

17. หมู่บ้านแม่ก๋อน ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

18. หมู่บ้านกะเบอะดิน ตำบลอมก๋อย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

19. หมู่บ้านแม่แพ ตำบลแม่สวด อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

20. หมู่บ้านแม่สวด ตำบลแม่สวด อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

21. หมู่บ้านอุมโล๊ะ ตำบลแม่สวด อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

22. หมู่บ้านแม่กองแป ตำบลแม่ยวม อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องส

23. หมู่บ้านแม่กองคา ตำบลแม่ยวม อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

24. หมู่บ้านห้วยแห้ง ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

25. หมู่บ้านแม่อมกิ ตำบลแม่วะหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

26. หมู่บ้านแม่หลุย ตำบลแม่สวด อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

27. หมู่บ้านทิยาเพอ ตำบลสบเมย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

28. หมู่บ้านเชียงแก้ว ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

29. หมู่บ้านแม่หาด ตำบลแม่สวด อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

More to explorer

สำรวจพื้นที่ 2 โครงการยักษ์เขื่อนกั้นแม่น้ำโขง พบการก่อสร้างเขื่อนหลวงพระบางคืบหน้าไปมาก-กั้นลำน้ำโขงแล้วเกือบครึ่ง-อพยพชาวบ้านแล้วบางส่วน ชาวบ้านน้ำตาตกวัด-พระพุทธรูปเก่าต้องอยู่ใต้น้ำ ขณะที่เขื่อนปากแบงยังไม่ได้ลงมือก่อสร้างใดๆ นักอนุรักษ์-นักกฎหมายจี้ตอบคำถามผลกระทบข้ามแดน