องค์กรประชาสังคมออกแถลงการณ์เรียกร้องการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพแก่ผู้ประสบภัยเขื่อนลาวแตก

6 องค์กรภาคประชาสังคมประกอบด้วย KTNC Watch, Manushya Foundation, Inclusive Development International, International Rivers, Community Resource Centre (CRC), Thailand, ETOs Watch Coalition ,Fair Finance Thailand, Mekong Watch  ได้ออกแถลงการณ์ครบรอบ 5 ปีเหตุการณ์เขื่อนเซเปียน เซน้ำน้อยที่แขวงอัตตะปือแตก เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2018 โดยเขื่อนเสริม (Saddle D) ของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้ำน้อยในลาวพังทลายคร่าชีวิตผู้คน 71 คน ไร้ที่อยู่อาศัยนับพัน น้ำท่วมบ้านเรือนและหมู่บ้าน ห้าปีหลังจากเหตุการณ์อันน่าสลดใจนี้ ผู้รอดชีวิตยังคงไม่ได้รับการชดเชยหรือการเยียวยาที่เพียงพอ และยังคงต้องทนทุกข์ทรมานจากผลกระทบของภัยพิบัติ องค์กรภาคประชาสังคมกำลังเรียกร้องให้บริษัทและรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง รวมถึงบริษัทก่อสร้างคือ SK Ecoplant และผู้พัฒนาและบริหารบริษัทเซเปียนเซน้ำน้อยพาวเวอร์( Xe-Pian Xe-Namnoy Power Company (PNPC)) ตลอดจนรัฐบาลลาวและสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งเป็นผู้ให้ทุนสนับสนุนความช่วยเหลือด้านการพัฒนาที่เป็นทางการ(Official Development Assistant ODA) ภายใต้องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา(OECD) ซึ่งสาธารณรัฐเกาหลีใต้เป็นสมาชิกให้รับทราบการกระทำผิดและปฏิบัติตามหน้าที่เพื่อให้แน่ใจว่ามีการชดใช้ค่าเสียหาย

SK Ecoplant ยังคงปฏิเสธความรับผิดชอบต่อภัยพิบัติ

บริษัท SK Ecoplant บริษัทก่อสร้างโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียนเซน้ำน้อย ได้ยื่นอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศในสิงคโปร์ ต่อบริษัทเซเปียนเซน้ำน้อยพาวเวอร์(PNPC)  ในฐานะบริษัทที่รับผิดชอบการดำเนินงานเขื่อน โดยโต้แย้งว่าการพังทลายไม่ได้เกิดจากการก่อสร้างที่ผิดพลาด แต่เป็นภัยธรรมชาติ (เหตุสุดวิสัย) ดังนั้นจึงไม่ยุติธรรมที่ผู้รับเหมาจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายรวมถึงค่าชดเชย

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญยอมรับว่าภัยพิบัติดังกล่าวเกิดจากฝีมือมนุษย์ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2019 คณะผู้เชี่ยวชาญอิสระ (IEP) ของคณะกรรมการสอบสวนแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลลาวได้เปิดเผยผลการสอบสวนโดยระบุว่า การพังทลายของเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยสามารถป้องกันได้ด้วยมาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาฐานราก

ในปี 2022  บริษัท SK Ecoplant ได้ประกาศ ‘แถลงการณ์นโยบายสิทธิมนุษยชน’ ต่อสาธารณะ โดยยืนยันว่าได้ดำเนินการอย่างแข็งขันเพื่อปฏิบัติตามความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท และเป็นบริษัทที่เป็นมิตรกับสิทธิมนุษยชน ก่อนที่จะโปรโมตตนเองในฐานะบริษัทที่รับผิดชอบต่อสังคม SK Ecoplant ควรรับทราบความรับผิดชอบของตนต่อโศกนาฏกรรมและดำเนินการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ

เงินชดเชยส่วนใหญ่จ่ายให้กับรัฐบาลลาว ไม่ใช่ชุมชนที่ได้รับผลกระทบ

บริษัทเซเปียนเซน้ำน้อยพาวเวอร์(PNPC) ผู้ดำเนินการอย่างเป็นทางการของเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยในลาว ระบุในจดหมายที่ส่งถึงผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2565 ว่าได้จ่ายเงินชดเชยจำนวน 91.2 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม พวกเราขอย้ำว่าตามบันทึกภายในของบริษัทเงินชดเชยส่วนใหญ่ (64.87 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 71% ของทั้งหมด) จ่ายให้กับรัฐบาลลาว ไม่ใช่จ่ายให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

เนื่องจากเงินชดเชยสำหรับที่อยู่อาศัย ที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ ที่สูญเสียและเสียหายจากภัยพิบัติได้จ่ายให้กับรัฐบาลลาวแล้ว รัฐบาลลาวได้ออกแบบ “แผนแม่บท” เพื่อถางป่าและสร้างเมืองใหม่ และให้บริษัท( PNPC )เป็นผู้จ่ายค่าเงินสำหรับการพัฒนาดังกล่าว  ดูเหมือนว่ากระบวนการชดเชยให้ความสำคัญกับความต้องการในการพัฒนาของรัฐบาลลาวมากกว่าการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพต่อผู้รอดชีวิต ในขณะเดียวกัน ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะเกี่ยวกับวิธีที่รัฐบาลลาวใช้จ่ายเงินที่ได้รับจากบริษัท PNPC หรือรายละเอียดเฉพาะของ “แผนแม่บท”

ตามรายงานของบริษัท PNPC ระบุว่า ได้จ่ายเงินชดเชยบางส่วนให้กับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน อย่างไรก็ตาม ณ เดือนมิถุนายนปีนี้  บริษัท PNPC ระบุในอีเมลถึง กลุ่ม เครือข่ายสหภาพแรงงานและองค์กรภาคประชาสังคมในเกาหลีใต้(KTNC Watch)ว่า การชดเชยทรัพยสินและทรัพย์สินที่มีคุณค่าทางจิตใจอื่นๆ ซึ่งถูกน้ำท่วมพัดหายไป แต่ยังไม่รวมอยู่ในการประเมินความเสียหายของทรัพย์สินนั้นยังไม่เสร็จสมบูรณ์ นอกจากนี้ เรายังยืนยันว่าไม่มีการชดเชยสำหรับความเสียหายทางจิตใจที่เกิดจากโศกนาฏกรรม หรือการสนับสนุนใดๆ สำหรับการฟื้นฟูบาดแผลทางจิตใจของผู้ประสบภัย

ผู้รอดชีวิตต้องพลัดที่นาคาที่อยู่และถูกทิ้งไว้โดยปราศจากการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน

จากการสัมภาษณ์ผู้รอดชีวิตจาก กลุ่มเครือข่ายสหภาพแรงงานและองค์กรภาคประชาสังคมในเกาหลีใต้(KTNC Watch) ผู้รอดชีวิตถูกย้ายไปยังพื้นที่ไม่คุ้นเคยและมีวิถีชีวิตที่ไม่แน่นอน พวกเขาเคยมีวิถีชีวิตการทำมาหากินแบบดั้งเดิมด้วยการทำนาริมแม่น้ำเซเปียน แต่บริษัทPNPC ได้สร้างหมู่บ้านแห่งใหม่ห่างไกลจากบ้านเดิม ตาม “แผนแม่บท” ของรัฐบาลลาว พวกเขาที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่ถูกย้ายไปยังหมู่บ้านแห่งใหม่โดยไม่มีทางเลือก

ขณะที่ผู้รอดชีวิตต้องสูญเสียวิถีชีวิตดั้งเดิม รัฐบาลลาวได้มอบที่ดินให้พวกเขา แต่กลับกลายเป็นว่าที่ดินดังกล่าวไม่เหมาะแก่การปลูกข้าว ขณะนี้ชาวบ้านไม่สามารถปลูกข้าวเองได้และถูกบังคับให้ปลูกและขายพืชผลทางการเกษตรอื่นๆ เช่น มันสำปะหลัง หรือเช่าที่ดินให้กับบริษัทเพาะปลูกแทน อย่างไรก็ตาม ผู้ได้รับผลกระทบหลายคนมีชีวิตแบบพอเพียง บางคนไม่มีแม้แต่บัญชีออมทรัพย์ส่วนตัวก่อนเกิดภัยพิบัติ ดังนั้นจึงแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจะกลายเป็นเกษตรกรเชิงพาณิชย์ในทันที กล่าวโดยสรุป ไม่เพียงแต่ผู้รอดชีวิตจากการพังทลายของเขื่อนเท่านั้นที่ถูกบังคับให้ย้ายถิ่นฐาน แต่พวกเขาไม่ได้รับการฟื้นฟูให้วิถีชีวิตที่มีความยั่งยืน เป็นที่น่าสงสัยว่าผู้รอดชีวิตได้รับการปรึกษาอย่างเหมาะสมในกระบวนการย้ายถิ่นฐานหรือไม่

เราเรียกร้องให้มีการชดเชยอย่างเต็มที่แก่ชุมชนที่ได้รับผลกระทบซึ่งให้ความสำคัญกับเสียงของผู้รอดชีวิต

ภาคธุรกิจที่ก่อให้เกิดหรือมีส่วนทำให้เกิดภัยพิบัติดูเหมือนจะพิจารณาเพียงว่าพวกเขาปฏิบัติตามความรับผิดชอบของตนแล้ว เนื่องจากพวกเขาจ่ายเงินจำนวนมากภายใต้ชื่อ ‘การชดเชย’ อย่างไรก็ตาม การใช้เงินชดเชยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าความต้องการของบริษัทที่จะหลีกเลี่ยงความรับผิดนั้นตรงกับความต้องการของรัฐบาลลาวในการเคลียร์พื้นที่และพัฒนาเมืองใหม่ การฟื้นฟูที่แท้จริงของผู้รอดชีวิตถูกลดความสำคัญลง และผลที่ตามมาคือ ผู้รอดชีวิตยังคงทุกข์ทรมานจากผลกระทบของภัยพิบัติ โดยไม่มีหลักประกันในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน

นอกจากบริษัท SK Ecoplant แล้ว บริษัท PNPC รัฐบาลลาว และสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งคือการให้การช่วยเหลือด้านการพัฒนาแบบทางการ (Official development assistant ODA จาม สำหรับโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้ำน้อย ต่างมีหน้าที่ในการเยียวยาและฟื้นฟูผู้รอดชีวิตจากเหตุเขื่อนแตกอย่างมีประสิทธิภาพ เราขอเรียกร้องให้หน่วยงานเหล่านั้นจัดเตรียมมาตรการบรรเทาทุกข์โดยจัดลำดับความสำคัญของความต้องการของผู้รอดชีวิต และรับประกันการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพและการฟื้นฟูอย่างเต็มที่แก่ชุมชนที่ได้รับผลกระทบ โดยปรึกษาหารืออย่างมีความหมายกับผู้รอดชีวิต

More to explorer

สำรวจพื้นที่ 2 โครงการยักษ์เขื่อนกั้นแม่น้ำโขง พบการก่อสร้างเขื่อนหลวงพระบางคืบหน้าไปมาก-กั้นลำน้ำโขงแล้วเกือบครึ่ง-อพยพชาวบ้านแล้วบางส่วน ชาวบ้านน้ำตาตกวัด-พระพุทธรูปเก่าต้องอยู่ใต้น้ำ ขณะที่เขื่อนปากแบงยังไม่ได้ลงมือก่อสร้างใดๆ นักอนุรักษ์-นักกฎหมายจี้ตอบคำถามผลกระทบข้ามแดน