สัปดาห์สิ่งแวดล้อมแม่โขง – อาเซียน (MAEW) 2562

C:\Users\User\Downloads\MAEW_LOGO-B&W.png

(Mekong-ASEAN Environmental Week 2019)

12-19 มิถุนายน 2562

ที่มา

ในช่วงนับตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1980 ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติในภูมิภาคแม่น้ำโขง โดยเฉพาะในประเทศแม่น้ำโขงตอนล่างคือสปป. ลาว กัมพูชาและเวียดนามที่เพิ่งเปิดรับการพัฒนาเศรษฐกิจระบบตลาดเสรีนับตั้งแต่ช่วงเวลาดังกล่าว ล้วนเกิดจากนโยบายการพัฒนาของรัฐบาลที่มุ่งเปลี่ยนทรัพยากรให้เป็นทุนในทางเศรษฐกิจมหภาค แต่ละเลยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิถีชีวิตและเศรษฐกิจฐานรากของประชาชนที่ผูกติดแน่นแฟ้นกับทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ บทบาทที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของทุนขนาดใหญ่ทั้งจากประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคแม่น้ำโขง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจากประเทศนอกภูมิภาค ผสมผสานกับสภาพทางการเมืองการปกครอง ความรู้ ความเท่าทัน และผลประโยชน์ของกลุ่มต่าง ๆ ภายในประเทศ ที่แม้จะแตกต่างกันออกไป แต่ก็ก่อให้เกิดภาพการทำลายล้างทรัพยากรเพื่อโครงการขนาดใหญ่ในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ทั้งโครงการสร้างเขื่อนพลังน้ำบนลำน้ำโขงและตลอดทั้งลุ่มน้ำ โครงการเกษตรอุตสาหกรรม และการขุดเจาะทรัพยากร รวมทั้งการสร้างสาธารณูปโภคเพื่อสนับสนุนการขนถ่ายสินค้าและความเป็นเมือง และการสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทะลุทะลวงเข้าไปในพื้นที่ที่เดิมเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญ สถานการณ์ที่เกี่ยวกับโครงการขนาดใหญ่นี้เผยโฉมให้เห็นอย่างเด่นชัดในรูปแบบเดียวกันด้วยในสาธารณรัฐเมียนมาร์ นับแต่หลังการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2558  เป็นต้นมา

สัปดาห์สิ่งแวดล้อมแม่โขง-อาเซียน 2562 (MAEW 2019) จัดขึ้นภายใต้คำขวัญ “วิกฤตแม่โขงคือวิกฤตอาเซียน เพื่อให้เป็นเวทีแสดงความกังวลและบทวิเคราะห์ในสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในภูมิภาคแม่น้ำโขง ที่เชื่อมโยงกับสถานการณ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยรวม เนื้อหาหลักในการจัดงานคือผลกระทบจากการลงทุนข้ามพรมแดนในโครงการขนาดใหญ่และบทบาทของตัวละครที่สำคัญ โดยมีจุดประสงค์ในการวิเคราะห์ วิพากษ์และให้เป็นเวลาเสนอแนวทางออกโดยภาคประชาชนและประชาสังคม ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของภูมิภาค และในโอกาสที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียนในปี 2562 นี้ โดยในงาน MAEW จะมีการนำเสนอประเด็นสำคัญหลัก ๆ แยกออกเป็นหลายเวทีและกิจกรรมในช่วงเวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์ เพื่อนำเสนอสถานการณ์ที่เกิดจากโครงการขนาดใหญ่ในภูมิภาคในทรัพยากรที่ดิน แม่น้ำ ป่าไม้ และแร่ธาตุ กลไกการทำงานของตัวละครที่มีอิทธิพลต่าง ๆ ทั้งรัฐบาล และบริษัทในประเทศผู้ลงทุนในภูมิภาค รวมทั้งประเทศจีนกับการผลักดันอภิมหาโครงการ “เส้นทางสายไหมแห่งทศวรรษที่ 21 (Road and Belt Initiative) ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในเชิงโครงสร้างและแนวทางของรัฐบาลทั่วทั้งภูมิภาค และก่อให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ระหว่างรัฐบาลกับประชาชน

สัปดาห์สิ่งแวดล้อมแม่โขง-อาเซียน 2562  จะจัดขึ้นเป็นสองช่วง คือในช่วงวันที่ 12-19 มิถุนายน ก่อนหน้าการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน  และระหว่างวันที่ 25-31 สิงหาคม ก่อนมหกรรมภาคประชาสังคม/ประชาชนอาเซียน (ASEAN Civil Society Conference (ACSC)/ASEAN Peoples’ Forum (APF) ซึ่งจัดขึ้นทุกปีในประเทศเจ้าภาพอาเซียน

ตารางกิจกรรม

12-14 มิถุนายน 2562

เข้าร่วมรับฟังการใต่สวนคำร้องขอฟ้องคดีแบบกลุ่ม ระหว่างตัวแทนชุมชนในจังหวัดโอดอร์เมียนเจย (อุดรมีชัย) กัมพูชากับบริษัทน้ำตาลมิตรผล จำกัดในกรณีการลงทุนในกิจการอ้อยและน้ำตาลและการขับไล่ที่ดิน

สถานที่: ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ซอยเจริญกรุง 63 สาธร

เวลา: 9.00 น. – 15.30 น

14 มิถุนายน 2562

เวทีสาธารณะ “ธุรกิจ สิทธิมนุษยชน การเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน: ว่าด้วยเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยในประเทศลาว” และการแสดงภาพถ่ายพื้นที่ได้รับผลกระทบโดยเริงฤทธิ์ คงเมือง

สถานที่: อาคารด้านหน้า (ห้องเล็ก), ศูนย์กลางนักเรียนคริสเตียน สะพานหัวช้าง ราชเทวี (เดินเพียงห้า   นาทีจากสถานีรถไฟฟ้าราชเทวี)

เวลา: 14.00 น. – 17.00 น

กลุ่มนักกฎหมายและนักกิจกรรมจากคณะทำงานภาคประสังคมเกาหลีกรณีเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยจากประเทศเกาหลีและญี่ปุ่นจะนำเสนอและพูดคุยกับนักกิจกรรมในประเทศไทยและภูมิภาคเกี่ยวกับความรับผิดชอบขององค์กรและการนำกรอบขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (โออีซีดี) ของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมาใช้ในการเรียกร้องความยุติธรรมให้กับประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ

รายการผู้พูด
ทักทายและแนะนำเกี่ยวกับสัปดาห์สิ่งแวดล้อมแม่โขง – อาเซียน (MAEW2019)เปรมฤดี ดาวเรือง โปรเจกต์เสวนาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ / เครือข่ายประชาชนจับตาการลงทุนในเขื่อนลาว (LDIM)
วิดีโอสั้น ๆ เกี่ยวกับสถานการณ์ในพื้นที่เซเปียน-เซน้ำน้อย โดยคณะผู้จัดงาน
กรณีเซเซเปียน – เซน้ำน้อยและการยื่นต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติประเทศไทย เครือข่ายติดตามการลงทุนไทยและความรับผิดชอบข้ามพรมแดน (ETOs)
ความรับผิดชอบของกลุ่มมิตซูบิชิยูเอฟเจ (เจ้าของหุ้นธนาคารกรุงศรีอยุธยา)ในด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนอากิโกะ ซาโต (Akiko Sato) ทนายความสิทธิมนุษยชน ทำงานร่วมกับองค์กรแม่โขงวอทช์ ประเทศญี่ปุ่น
คณะทำงานภาคประชาสังคมเกาหลี กรณีเขื่อนเซเปียนเซน้ำน้อยปัก เย-อัน  (Park Yae-Ahn) ทนายความ สมาชิกคณะทำงานภาคประชาสังคมเกาหลีกรณีเขื่อนเซเปียนเซน้ำน้อย
แนวทางขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (โออีซีดี) เพื่อการเรียกร้องความยุติธรรมให้กับประชาชนผู้ได้รับผลกระทบในกรณีเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยคิม ดง-ฮยุน ( Kim Dong-hyun) ทนายความสิทธิมนุษยชนเกาหลี
คำถาม / คำตอบและการสนทนาผู้ดำเนินรายการ: ชาลมาลี กุตตัล (Shalmali  Guttal) โครงการปฏิบัติการเพื่อการพัฒนา (FOCUS)

18 มิถุนายน 2562

งานแถลงข่าว “อาเซียนที่เราต้องการ: จากปากคำของประชาชนท้องถิ่นที่เป็นประจักษ์พยานต่อการพัฒนาบนความหายนะทางนิเวศ” และการแสดงภาพถ่าย

สถานที่: สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) ชั้นเพนต์เฮาส์ อาคารมณียา ชิดลม (เดิน 5 นาทีจากสถานีรถไฟฟ้าชิดลมโดยใช้ทางเชื่อม)

เวลา: 18.00 น. – 20.00 น

เพื่อนำเสียงจากพื้นที่มานำเสนอโดยตรงแก่สื่อและสาธารณะโดยผู้นำภาคประชาชน รวมถึงประธานเครือข่ายชนพื้นเมือง ผู้นำท้องถิ่น และผู้ได้รับความเดือดร้อนจากโครงการขนาดใหญ่ในภูมิภาค การอภิปรายนี้ยังจะประกอบไปด้วยการนำเสนอแถลงการณ์ “อาเซียนที่เราต้องการ” พร้อมรายนามเครือข่ายภาคประชาชนในภูมิภาคต่อผู้นำอาเซียนเนื่องในโอกาสการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย

รายการผู้พูด
การต่อสู้ของพี่น้องชนเผ่าโอรัง อัสลีเรื่องการบุกรุกป่าไม้และการแย่งยึดที่ดินมุสตาฟา อารัง ประธานเครือข่ายชนพื้นเมืองโอรัง อัสบี กลันตัน มาเลเซีย
การแย่งยึดที่ดินภายใต้แผนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)สรายุทธ์ สนรักษา ตัวแทนเครือข่ายประชาชน จังหวัดฉะเชิงเทรา
การเคลื่อนไหวของประชาชนท้องถิ่นต่อการพัฒนาบนแม่น้ำโขงสายหลักและเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงรายสมเกียรติ เขื่อนเชียงสา กลุ่มรักษ์เชียงของ
กรณีจากพม่าตัวแทนประชาชนจากพม่า
แถลง “อาเซียนที่เราต้องการ” ตัวแทนคณะทำงานสัปดาห์แม่โขง-อาเซียน 2562
ดำเนินการอภิปรายเปรมฤดี ดาวเรือง โปรเจกต์เสวนา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

19 มิถุนายน 2562

เวทีสาธารณะ “สิ่งแวดล้อมและการดำรงชีวิตกับผลกระทบจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในอาเซียน: เล่าเรื่องประชาชน” และการแสดงภาพถ่าย

สถานที่: ห้องประชุมจุมภฎ-พันธ์ทิพย์ อาคารประชาธิปก- รำไพพรรณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เดินสิบนาทีจากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสามย่าน)

เวลา 9.00 น. – 17.00 น

ตลอดทั้งวันจะมีการอภิปรายและแลกเปลี่ยนโดยนักกิจกรรมท้องถิ่นภาคประชาชนและภาคประชาสังคมในประเทศแม่น้ำโขง-อาเซียนเพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจต่อสาธารณชนเกี่ยวกับการร่วมมือทางเศรษฐกิจ-การลงทุนในอาเซียน และสถานการณ์ในพื้นที่ซึ่งทั้งแตกต่างและเหมือนกัน การอภิปรายแลกเปลี่ยนจะแบ่งเป็นสี่ช่วงเวลาเพื่อพูดในประเด็น  1) พลังงาน 2) การก่อตั้งโครงสร้างพื้นฐาน เขตเศรษฐกิจพิเศษและระเบียงทางเศรษฐกิจ และ 3) ความร่วมมือของอาเซียนที่กระทบกับระบบอาหารและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เวลารายการผู้พูด
9.00-9.30กล่าวต้อนรับและแนะนำรายการตัวแทนผู้จัด
9.30-11.00ว่าด้วยพลังงาน และผลกระทบข้ามพรมแดน

เขื่อนแม่น้ำโขงกับผลกระทบข้ามพรมแดนมนตรี จันทวงศ์  กลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง

สถานการณ์ในพื้นที่เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยทันยา โรเบิร์ต (Tanya Robert) แม่โขงวอชท์(Mekong Watch)

สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปเกี่ยวกับพลังงานในเวียดนาม  ตัวแทนจากประเทศเวียดนาม (รอยืนยัน)

สถานการณ์เรื่องน้ำมันและก๊าซในพม่าตัวแทนจากประเทศพม่า (รอยืนยัน)

ดำเนินการอภิปรายแกรี ลี (Gary Lee) องค์การแม่น้ำนานาชาติ (International Rivers)
11.00-11.30พัก/กาแฟ
11.30-12.30โครงสร้างพื้นฐาน เขตเศรษฐกิจพิเศษและการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจอื่นๆ ของอาเซียน

เขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศแม่น้ำโขงพรพนา ก๊วยเจริญ กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน

ถนนจากไทยไปทวายธีระชัย ศาลเจริญกิจถาวร กลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง

โครงการถนนข้ามพรมแดนในกัมพูชาตัวแทนจากประเทศกัมพูชา

ดำเนินการอภิปรายรอยืนยัน
12.30-13.30พัก/อาหารกลางวัน
13.30-15.00ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ห่วงโซ่อาหาร และภาวะโลกร้อน

อาหารโรงงานกับอาหารจากไร่นา  อุบล อยู่หว้า เครือข่ายเกษตรทางเลือก

การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ผลกระทบต่อภูมิภาคและประชาชนรอยืนยัน

ป่าไม้ ความมั่นคงทางอาหารและการขับเคลื่อนของประชาชนฮาฟิซูดิน นาซารูดิน (Hafizudin Nasarudin) ประธานกลุ่มนักกิจกรรมสิ่งแวดล้อมในพื้นที่คาบสมุทร (Persatuan Aktivis Sahabat Alam) และสมาคมนักกิจกรรมสิ่งแวดล้อม มาเลเซีย


ตัวแทนจากพื้นที่พม่า

ดำเนินการอภิปรายรอยืนยัน
15.00-15.30พักดื่มกาแฟ
15.30-16.30สะท้อนความเห็นจากการฟัง

ชาลมาลี กุตตัล (Shalmali Guttal)โครงการปฏิบัติงานเพื่อการพัฒนา (FOCUS)

วิทูรย์ เพิ่มพงศาเจริญเครือข่ายพลังงานและนิเวศวิทยา (MEENet)

เด็บบี สตอดฮาร์ท (Debbie Stothard)Atsean

ดำเนินการอภิปรายเปรมฤดี ดาวเรือง โปรเจกต์เสวนาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  
16.30ขอบคุณและกล่าวปิดงานรอยืนยัน

ทุกรายการมีการแปลภาษาไทย-อังกฤษ

ส่งข้อความเพื่อลงทะเบียน และติดตามเกี่ยวกับการจัดงานได้ที่  https://www.facebook.com/MAEW2019/

องค์กรผู้ร่วมจัด/สนับสนุน

โปรเจกต์เสวนาเอเชียตะวันออกเฉียง เครือข่ายประชาชนจับตาการลงทุนในเขื่อนลาว/เครือข่ายติดตามการ

ลงทุนไทยและความรับผิดชอบข้ามพรมแดน/เสมสิกขาลัย/กลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง/มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน/

กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน/โครงการศิลปะชุมชน/กลุ่มฮักเชียงของ/ เครือข่ายพลังงานเพื่อนิเวศวิทยาแม่น้ำโขง

เอิร์ทไรท์อินเตอร์เนชั่นแนล/องค์การแม่น้ำนานาชาติ/โครงการปฏิบัติการเพื่อการพัฒนา/ศูนย์ภูมิภาคด้าน

สังคมศาสตร์และการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่/ ศูนย์ศึกษาความขัดแย้งและ

สันติภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

More to explorer

สำรวจพื้นที่ 2 โครงการยักษ์เขื่อนกั้นแม่น้ำโขง พบการก่อสร้างเขื่อนหลวงพระบางคืบหน้าไปมาก-กั้นลำน้ำโขงแล้วเกือบครึ่ง-อพยพชาวบ้านแล้วบางส่วน ชาวบ้านน้ำตาตกวัด-พระพุทธรูปเก่าต้องอยู่ใต้น้ำ ขณะที่เขื่อนปากแบงยังไม่ได้ลงมือก่อสร้างใดๆ นักอนุรักษ์-นักกฎหมายจี้ตอบคำถามผลกระทบข้ามแดน