เว็บไซต์ข่าวจีน caixinglobal.com รายงานว่า เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2561 ว่า เขื่อนบนแม่น้ำโขงตอนบนกำลังจะทำลายป่าฝนผืนสุดท้ายของจีน
“มันเหมือนกับทรงผมที่ถูกตัดโดยช่างไม่มีหัวคิด”
ชาวบ้านพูดถึงร่องรอยทางสิ่งแวดล้อมที่บริษัทสร้างเขื่อนหุยหลงชาน ทิ้งไว้ในผืนป่าฝนเขตร้อนทางตอนใต้ของจังหวัดยูนนานตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2015 ต้นไม้และพืชพันธุ์ต่างๆ ริมแม่น้ำแม่น้ำเซียวเฮ่ย ในเขตสิบสองปันนานถูกตัดออกเพื่อเคลียร์พื้นที่ให้กับเขื่อน นับเป็นการร่องรอยการเปิดแผลในผืนป่าฝนดิบชื้นที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง แม่น้ำเซียวเหว่ย ไหลลงแม่น้ำหลูซูว ลำน้ำสาขาสำคัญของแม่น้ำโขง
เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในเขตนี้ซึ่งจัดเป็นเขตยากจนกล่าวว่า โครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ สร้างกำไรมหาศาล แต่จำนวนเงินลงทุนกลับไม่มีใครรู้ และโครงการดังกล่าวเดินหน้าต่อไปและคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2020 และคาดว่าจะตอบสนองความต้องการไฟฟ้าให้กับชาวบ้านนับล้านในพื้นที่
แต่มณฑลยูนนานกำลังเผชิญปัญหาปริมาณไฟฟ้าที่มากเกินไปนับตั้งแต่มีการพัฒนาเขื่อนไฟฟ้าบนแม่น้ำโขง เขื่อน 14 แห่งถูกสร้างและกำลังก่อสร้างบนแม่น้ำโขง ในยูนนาน โดยเขื่อนมานวาน ถูกสร้างขึ้นในปี 1995 ซึ่งได้ทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต นักสิ่งแวดล้อมหลายคนได้กล่าวกับสำนักข่าวไกซิน
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้เติมเชื้อเพลิงกระแสคัดค้านจากนักวิทยาศาสตร์และกลุ่มรณรงค์ที่กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้อนุมัติโครงการทั้งที่รายงานการศึกษาผลกระทบยังไม่สมบูรณ์ นักวิเคราะห์กล่าวว่าโครงการจะก่อความเสียหายต่อแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ชนิดต่างๆ เช่น ช้างเอเชีย และแหล่งน้ำซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์น้ำเขตร้อนชื้น
นายเชน ยินหลุย นักมีนวิทยาที่มีชื่อเสียง กล่าวว่า ตอนนี้ยูนนานมีเขื่อนไฟฟ้าจำนวนมาก เราไม่เข้าใจว่าทำไมจะต้องทำลายแม่น้ำสาขาสายนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมันเป็นพื้นที่อนุรักษ์ผืนสุดท้ายของสัตว์น้ำในแม่น้ำโขง
แม่น้ำโขง เป็นที่รู้จักกันว่า แม่น้ำลานซาง ในภาษาจีน และเป็นแม่น้ำสายสำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีต้นกำเนิดที่มณฑลชิงไห่ ไหลผ่านธิเบต ยูนนาน ก่อนที่จะไหลเข้าสู่พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม
นักข่าวของสำนักข่าวไกซินที่ได้รับการช่วยเหลือจากชาวบ้านในท้องถิ่น ได้พายเรือคายัคบนแม่น้ำเซียวเห่ยช่วงบนเหนือเขื่อน พบเห็นต้นไม้ขนาดใหญ่ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์ 1 – 2 เมตรถูกโค่นลงไว้สองฝั่งแม่น้ำตลอดระยะทาง 15 กิโลเมตร พืชพันธุ์ริมฝั่งอยู่ในสภาพเหลืองใกล้ตายล้มอยู่บนพื้น
พื้นที่ดังกล่าวกำลังจะถูกน้ำท่วมจากเขื่อนไฟฟ้า จึงต้องมีการเคลียร์พื้นที่เพื่อเป็นการป้องกันเขื่อน ดังที่กลุ่ม Friend of Nature กลุ่มรณรงค์ด้านการอนุรักษ์ที่ปักกิ่งกล่าว
กลุ่มอนุรักษ์ยังกล่าวอีกว่า ตลอดความยาว 35 กิโลเมตรของแม่น้ำเซียวไห่ จะต้องมีการตัดเอาพืชพันธุ์ต่างๆ ออกให้หมด เพื่อให้เพิ่มระดับการกักเก็บน้ำ มีกลุ่มต้นไม้และพืชพันธุ์ สัตว์ป่าที่ถูกทำลายมากมายรวมถึง Caryota Urens พืชที่ออกดอกในตระกูลปาล์มและ Tetramelaceae ซึ่งทั้งสองชนิดนี้อยู่ในรายชื่อพันธุ์พืชที่ต้องได้รับการคุ้มครองระดับชาติ
นักอนุรักษ์เกรงว่า โครงการจะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อเขตอนุรักษ์ธรรมชาติสิบสองปันนา ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ป่าฝนเขตร้อนชื้นที่ยังหลงเหลืออยู่ในจีน โดยพื้นที่การอนุรักษ์นั้นประกอบด้วย 5 หน่วยย่อย โดยพื้นที่สามในห้านั้นคือ เม็งยาง เมงลาและเมงงูน ซึ่งถือเป็นพื้นที่เชื่อมต่อทางชีวภาพ
แม่น้ำเซียวไห่ ไหลผ่านหน่วยเม็งยางและเชื่อมโยงกับเม็งกุน ซึ่งเป็นพื้นที่น่าห่วง เพราะว่า บางพื้นที่อาจจะต้องถูกน้ำท่วม การทำลายจะไม่เพียงพืชพันธุ์แต่รวมถึงสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์อย่างช้างเอเชียด้วย
อาสาสมัครจากกลุ่ม Friend of Nature ได้ค้นพบหินที่จารึกไว้ด้วยตัวอักษรสีแดงซึ่งมีความหมายว่า “สงวน” ในพื้นที่ที่มีการตัดต้นไม้ออก ซึ่งชี้ชัดว่า งานการก่อสร้างเขื่อนกำลังรุกล้ำเข้าไปยังพื้นที่เขตสงวน
หลิว ยงจูน นักชีวะวิทยาและนักอนุรักษ์อื่นๆ กล่าวว่า เขื่อนจะปิดกั้นการอพยพของพันธุ์ปลาหลายสายพันธุ์ที่อพยพจากแม่น้ำโขงเพื่อเข้าไปวางไข่ในพื้นที่ตอนบนของแม่น้ำหลูซูว
อย่างไรก็ตาม ในรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมของบริษัท ไชน่า รีซอส พาวเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด ผู้พัฒนาโครงการเขื่อน ซึ่งเป็นบริษัทลูกบริษัท ไชนิส คองโกลเมอเรท ไชน่า รีสอร์ท (โฮลดิ้ง) จำกัด ไม่ได้ระบุความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมในพื้นที่เชื่อมต่อทางชีวภาพ
เมื่อช้างบุก
ดร. วู ชาวหลู่ แห่งสถาบันชีววิทยาและพืชพันธุ์ มหาวิทยาลัยยูนนาน กล่าวว่า พื้นที่สงวนได้ทำลายไปมากเนื่องจากการขยายพื้นที่แปลงปลูกยางพาราขนาดใหญ่ในช่วงปี 2503 – 2510 และโครงการพัฒนาล่าสุดที่อาจจะทำลายจำนวนประชากรช้าง มีการออกแบบพื้นที่เชื่อมต่อชั่วคราวเพื่อให้ช้างป่าอพยพไปยังพื้นที่สงวนหน่วยอื่นๆ เพื่อหาอาหารและหาคู่ ดังที่ วู ผู้ที่ได้เข้าร่วมในกระบวนการวางแผนในพื้นที่ระบุ เขื่อนหุยหลงชานสร้างในพื้นที่ระหว่างพื้นที่เชื่อมต่อที่สร้างความลำบากให้ช้างต้องย้ายจากหน่วยเม็งยางไปยังเม็งกุน เขากล่าว
ขณะนี้ช้างต้องถูกควบคุมให้อยู่ในพื้นที่เล็กกว่าเดิมและอยู่ต่ำกว่าและใกล้พื้นที่อยู่อาศัยของชุมชน ซึ่งส่งผลให้มีชาวบ้านเสียชีวิตเพิ่มขึ้นจากการถูกช้างทำร้าย
ขณะเดียวกัน ช้างป่าบุกเข้าไปในหมู่บ้านหมันชา ในเขตเม็งลา เมื่อวันที่ 9 มีนาคม ที่ผ่านมาและทำร้ายหญิงวัย 55 ปี เสียชีวิต
เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ กลุ่ม Friend of Nature ได้ทำการฟ้องร้องต่อศาลท้องถิ่นในมณฑลยูนนานต่อบริษัทลูกของบริษัทไชน่ารีซอส และบริษัทอื่นๆ ที่ถูกจ้างโดยผู้พัฒนาโครงการจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนเรียกร้องให้ผู้พัฒนาโครงการหยุดการตัดไม้และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากโครงการก่อนหน้าที่เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและการอนุรักษ์ปลาในพื้นที่ตอนล่าง ทางกลุ่มกล่าวอย่างมีความหวังว่า คดีความจะช่วยชะลอการดำเนินโครงการหรือหยุดโครงการได้
การดำเนินการทางกฎหมายล่าสุดที่คล้ายคลึงกันล่าสุด คือ มีการยื่นข้อร้องเรียนต่อสำนักงานป่าไม้มณฑลเมื่อปลายปีที่แล้ว
ตัวแทนจากบริษัทลูกของไชน่า รีซอส และคุนมิง เอนจิเนียริ่ง คอรป์ ที่จัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมปฏิเสธที่จะตอบคำถามใดๆ ต่อ สำนักข่าวไคซิน
ไชน่า รีซอส พาวเวอร์ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ กล่าวว่าจะมีการชะลอการพัฒนาโครงการออกไป หลังจากที่หมดสัญญาสัมปทานไม้หมดลงในเดือนธันวาคม แต่บริษัทก็ยังไม่ได้กล่าวว่าจะต่อสัญญาหรือไม่ และสำนักงานป่าไม้ของมณฑลสิบสองปันนา มีหน้าที่ให้ใบอนุญาตสัมปทานป่าไม้ กล่าวว่า ยังไม่ได้รับการยื่นขอต่อสัญญาสัมปทานฉบับใหม่จากบริษัท
ขณะเดียวกัน กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่พึ่งถูกส่งไปสำรวจพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมในอ่างเก็บน้ำ พบว่า แปลงที่มีพืชเฉพาะถิ่นในพื้นที่ป่าฝนเขตร้อนชื้น ดังที่ ฉวง หมิงชวน หัวหน้าส่วนการคุ้มครองของกรมป่าไม้ กล่าวว่าแม้พื้นที่ดังกล่าวไม่ได้อยู่ในขอบเขตของการสงวนแต่ก็ใกล้มาก หินหมุดหมายที่ปักอยู่ในพื้นที่เพื่อแสดงว่าเป็นส่วนหนึ่งของเขตสงวนเป็นสิ่งที่ทำให้ชาวบ้านไม่เข้าไปในพื้นที่ และหยุดการรุกล้ำหรือลักลอบตัดไม้ในพื้นที่สงวน
นักพฤกษศาสตร์ที่ไม่ขอออกนามให้ความเห็นว่า ในรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของบริษัท คุนหมิง เอ็นจีเนียริ่ง ระบุไว้วา เขื่อนจะยกระดับน้ำสูงถึง 650 มรทก. และ ต่ำจากเขตแดนของพื้นที่สงวนประมาณ 17 เมตร ซึ่งขัดแย้งกับกฎหมายของท้องถิ่นที่ใช้ทางน้ำและหรือถนนแทนระดับความสูงเพื่อทำเครื่องหมายและขอบเขตของพื้นที่สงวนทางธรรมชาติ นักพฤกษศาสตร์ที่ไม่ขอออกนามให้ความเห็นไว้
เมื่อปลาไม่มีแหล่งวางไข่
นักวิทยาศาสตร์และนักอนุรักษ์ธรรมชาติต่างคัดค้านโครงการสร้างเขื่อนเพราะว่าจะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อแหล่งน้ำที่อยู่อาศัยของปลา และปิดกั้นการอพยพของปลาหลายชนิดที่จะอพยพไปวางไข่บนพื้นที่ต้นน้ำดังเดิม
พบชนิดพันธุ์ปลา 112 ชนิดในแม่น้ำหลูซูว 27 ชนิดเป็นพันธุ์ปลาพื้นมืองในยูนนาน 9 ชนิดพันธุ์ เป็นสายพันธุ์เสียงจะสูญพันธุ์และได้รับการคุ้มครองระดับชาติ และ 3 ชนิดพันธุ์ได้รับการคุ้มครองระดับจังหวัด ศ.เชน หยินหลุย อดีตนักวิจัยจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์คุนหมิง สถาบันสัตว์วิทยา (Chinese Academy of Sciences’ Kunming Institute of Zoology)
พื้นที่สงวนพันธุ์ปลาในแม่น้ำหลูซูว ถูกสร้างขึ้นเนื่องจากผลกระทบจากเขื่อนมากกว่า 12 แห่งถูกสร้างขึ้นบนแม่น้ำโขงมากว่า 20 ปี พื้นที่คุ้มครองสัตว์น้ำถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2006 โดยสำนักงานบริหารจัดการคุ้มครองทางสิ่งแวดล้อม กระรทรววงนิเวศสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ไม่ควรสร้างเขื่อนบนแม่น้ำหลูซูว
แต่รัฐบาลท้องถิ่นกลับโต้แย้งว่า ไม่มีข้อบังคับที่จะต้องทำตามคำแนะนำดังกล่าว และกลายเป็นไฟเขียวให้กับหน่วยงานวางแผนระดับมณฑลคณะกรรมาธิการการปฏิรูปและการพัฒนายูนนานเดินหน้าโครงการสร้างเขื่อนตั้งแต่ปี 2012
ในรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ระบุว่า ผู้พัฒนาโครงการได้พยายามหาแนวทางที่จะแก้ไขผลกระทบจากเขื่อนต่อพันธุ์ปลา รวมไปถึงการออกแบบ พื้นที่จำลองสำหรับการวางไข่ของปลา
หลี ยงจิน กล่าว อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวไม่ได้ถูกยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญ และเรียกว่ายังเป็นเพียงการต่อสู้กันทางเอกสารเท่านั้น เขื่อนจะเปลี่ยนลักษณะสำคัญของแม่น้ำรวมถึง อุณหภูมิของน้ำที่ไหลลงตอนล่างและรูปแบบของฤดูน้ำหลาก
ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การเปลี่ยนแปลงของความเข้มข้นของไออนและคุณสมบัติอื่นๆของน้ำในแม่น้ำจากการลดลงของตะกอนในแม่น้ำ ทั้งหมดนี้จะมีผลกระทบสำคัญต่อการอพยพของปลาและรูปแบบการผสมพันธุ์ของปลา และอาจจะทำให้ปลาบางชนิดหยุดการวางไข่
ที่มา https://www.caixinglobal.com/2018-03-23/mekong-dam-could-choke-chinas-last-rainforest-101225446.html